วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

                               
                 


สรุปเนื้อหาจากบทความ
          จากเนื้อหาของบทความได้กล่าวว่าคณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อชีวิตของคนเราอย่างมาก เพราะทำให้เป็นคนที่มีความคิดที่เป็นแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและรู้จักใช้ความคิดได้อย่างรอบคอบ ดังนั้นเด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยที่ควรเริ่มเรียนรู้พื้นฐานของคณิตศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้รู้จักสังเกตและมีทักษะในการดำเนินชีวิตในภายหน้า จึงทำให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและกำหนดสาระขึ้นว่า
         เด็กควรจะต้องเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ไว้ 6 สาระ ด้วยกันคือ
1. จำนวนและการดำเนินการ เช่น การรวมกลุ่ม แยกกลุ่ม 
2. การวัด เช่น ความยาว น้ำหนัก
3. เรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง รูปเรขาคณิตต่างๆ
4. พีชคณิต เช่น รู้จักการแก้ปัญหาเชื่อมโยงแบบรูปและความสำพันธ์
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล และนำเสนอในรูปแบบของกราฟ แผนภูมิฝังความคิด เป็นต้น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การคิดแก้ปัญหา การให้เหตุผล
ปัจจัยสำคัญการที่เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่ดี ได้แก่
          - ผู้บริหาร สามารถจักสรรงบประมาณในการเลือกสรรสื่อตามความต้องการของผู้เรียน และจัดการอบรมครูเรื่องการส่งเสริมความสามารถของเด็ก
          - ครูผู้สอน ครูผู้สอนควรพัฒนาความสามารถของตนเองอยู่เรื่อยๆ และจะต้องเข้าใจมาตรฐานการเรียนรู้และศึกษาในเรื่องของหลักสูตรอย่างถ่องแท้
         - เด็ก ควรมีความสนใจและรู้จักสักถาม ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
         - สภาพแวดล้อม จะต้องเอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษา
         - ผู้ปกครอง จะต้องให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนและใส่ใจตัวเด็ก
ความรู้ที่ได้รับจากบทความและการนำไปประยุกต์
1. ทำให้รู้สาระทางคณิตศาสตร์ว่ามี 6 สาระ และควรจะสอนอะไรสำคัญๆให้กับเด็กบ้าง
2. นำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เพื่อจะได้ผลิตสื่อให้เหมาะสมตรงกับสิ่งที่เด็กควรจะเรียนรู้
3. ได้รู้ว่าในการจัดการเรียนรู้ทุกอย่างจะต้องสามารถให้เด็กได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง จึงควรจัดกิจกรรมให้เหมาะสมให้เด็กรู้จักเรื่องรอบๆตัว เช่น สมาชิกในครอบครัวหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เป็นลำดับรู้จักเรื่องจำนวนเงินการเก็บออมการจ่ายซื้อของ ซึ่งจะทำให้เด็กเป็นคนรู้จักคุณค่าของเงินได้ตั้งแต่เล็กๆ
4. สามารถประยุกต์โดยแต่งเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เพื่อจะได้ใช้กับเด็กได้ เช่น ใช้เพลงสอนเด็กในเรื่องของจำนวน ตัวอย่าง
                                                                        เพลงนิ้วมือ
นิ้วๆ นิ้ว นิ้วมือมีอยู่สิบนิ้ว...ข้างซ้าย
หนูมีห้านิ้ว ข้างขวาหนูก็มีห้านิ้ว
ไหนทุกคนลองนับดีๆ 1 2 3 4...5 6 7
8 9 10! พอดี...
(ทำนองคล้ายเพลงช้าง) โดย อริสรา ภูษิต

วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์

เรื่องการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรียนรู้การนับจำนวน

        เด็กอนุบาล 2 โรงเรียนอนุบาลทองขาว จังหวัดยโสธร ได้สอนเด็กเกี่ยวกับตัวเลขโดยคุณครูชูแผ่นป้ายขึ้นมา แล้วเด็กจะใช้ไม้ไอศกรีมวางแทนจำนวนเลขฮินดูอารบิกตามจำนวนที่คุณครูชูแผ่นป้ายขึ้นมา การสอนในรูปแบบลักษณะนี้ทำให้เด็กรู้จักจำนวนและการแทนค่าจำนวน นอกจากนี้ยังได้ใช้กล้ามเนื้อมือในการหยิบจับไม้ไอศกรีมที่มีขนาดเล็กอีกด้วย

สรุปงานวิจัย

วิจัยเรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต


ผู้วิจัย : วรรณีวัจนสวัสดิ์



สรุปวิจัย : เกมการศึกษาลอตโตทำให้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กเพิ่มขึ้นจริง จาการวิจัยทำให้ทราบถึงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต เพื่อไปเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รวมทั้งกาารจัดกิจกรรมเล่นเกมการศึกษาลอตโตให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เด็กปปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทำกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตโดยรวมและรายด้านคือ ด้านการสังเกตเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ ด้านการรู้ค่าจำนวน เพิ่มขึ้น


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5ปี ที่กำลังศึกษา อยู่ในชั้นอนุบาลที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ส่วนการศึกษาอนุบาลไผ่ทอุดมศึกษา
กรุงเทพมหานคร สำนักบริการงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา 2
จำนวน 30 คนโดยมีขั้นตอนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Samping)
มา 1 ห้องเรียนจากจำนวน 8 ห้องเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    1.เกมการศึกษาลอตโต จำนวน 45 เกม
    2.แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศ่สตร์ จำนวน 4 ชุด ได้แก่
       แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการสังเกตเปรียบเทียบจำนวน 10 ข้อ
       แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู่ จำนวน 10 ข้อ
       แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการเรียงลำดับ จำนวน 10 ข้อ
       แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการรู้ค่า จำนวน 10 ข้อ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561











ครั้งที่ 16
วันเสาร์ ที่ 28  เมษายน พ.ศ.2561

กิจกรรมที่ 1 
          การนำเสนอสื่อการสอนคณิตศาสตร์และสรุปผลการสังเกตพฤติกรรมการเล่นของเด็กในการสอนกิจกรรม มีดังนี้  


นางสาววสุธิดา  คชชา และนางสาววิภาพร  จิตอาคะ 

นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ 

นางสาวปวีณา  พันธ์กุล 


นางสาวณัฐชา  บุญทอง  และนางสาวอรอุมา  ศรีท้วม 


นางสาวกิ่งแก้ว  ทนนำ นำเสนอสื่อเดี่ยว 

นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง และนางสาวสุจิณณา  พาพันธ์  


นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์ 


นางสาวอุไรพร  พวกดี และนางสาวชานิศา  หุ้ยทั่น 

นางสาววิจิตรา  ปาคำ 


และของดิฉัน
นางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ  และนางสาวอภิชญา  โมคมูล 


บรรกาศในห้องเรียน : เพื่อนๆนำเสนอสื่อได้น่าสนใจ
ประเมินวิธีการสอน : ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนพฤคิกรรมเด้กที่ถูกต้อง















ครั้งที่ 15

วันพุธที่ 25  เมษายน พ.ศ.2561

กิจกรรมที่ 1
              เพื่อนออกมานำเสนอวิจัย คือ นางสาวรัติยากร  ศาลาฤทธิ์ นำเสนอวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์

รูปแบบวิจัย
        1.การะตุ้นการเรียนรู้
        2.กรองสู่มโนทัศน์
        3.พัฒนาด้วยศิลปะ
        4.สาระที่เรียนรู้

กิจกรรมที่ 2
             นำเสนอสื่อการเรียนรู้คณืตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ "ถาดรองไข่" ของกลุ่มเรียน 121 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560








บรรยากาศในห้องเรียน : เพื่อนสนใจที่เพื่อนๆนำมาเสนออย่างน่าสนใจ

ประเมินวิธีการสอน : ให้คำติชมและแนะนำสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข


















ครั้งที่ 14

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ.2561

 กิจกรรมที่ 1
               วันนี้เพื่อนทุกคนนำสื่อถาดไข่มาให้อาจารย์ตรวจความคืบหน้า พร้อมทั้งบอกวัตถุประสงค์ของสื่อที่ทำมาต่อมาพูดถึงเรื่องการคิดวิเคราะห์ ว่าจะต้องมีดังนี้ 
        1. ปัญหา
        2.ข้อย่อย (ประเด็น)
        3. ภาพ (มองง่าย)
        4. สร้างประเด็น / สร้างปัญหา
        5. ใช้ภาษาสื่อสาร
หาค่าโดย
1. การสังเกต  ให้คะแนน
2. การสนทนา  แบบบันทึก
3. การประเมิน   ดูจากผลงาน ชิ้นงาน สะท้อนพัฒนาการของเด็ก


 กิจกรมมที่ 2
              ผึกการร้องเพลงที่เป็นตัวช่วยให้เด็กปฏิบัติตาม
            1. เพลงสวัสดียามเช้า  (สัมพันธ์เรื่องเวลา และกิจวัตรประจำวัน)
            2. เพลงสวัสดีคุณครู   (สัมพันธ์เรื่องกิจวัตรประจำวัน)
            3. หนึ่งปีมี 12 เดือน   (สัมพันธ์กับวัน เดือน ปี )
            4. เพลงเข้าแถว   (สัมพันธ์กับเรื่องระยะความห่างในการเข้าแถว)
            5. เพลงจัดแถว   (สัมพันธ์เรื่องความน่าจะเป็น)
            6. เพลงซ้าย - ขวา   (สัมพันธ์เรื่องทิศทาง)


  กิจกรรมที่ 3
          แจกกระดาษมาให้คนละ 1 แผ่น พร้อมกับคำถามดังนี้
          1. เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
          2. การอนุรักษ์ หมายถึง
          3. จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กผ่านขั้นอนุรักษ์
          4. สาระคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
          5. สาระที่ 6 มีมาตรฐาน หรือไม่
          6. คุณภาพของเด็กที่จบไปต้องมีอะไรบ้าง




บรรยากาศในห้องเรียน : การนำเสนอสื่อผ่านไปได้ด้วยดี ได้เห็นสื่อที่หลากหลาย
ประเมินการสอน : ให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการแก้ไขสื่อได้ดี ได้เข้าใจง่าย















ครั้งที่ 13

วันพุธ ที่ 4 เมษายน 2561
           
              การนำเสนอวิจัยของ นางสาวสุจิณณา  พาพันธ์ เรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ขั้นตอนรูปแบบการจัดประสบการณ์ มี 4 ขั้น ตัวอย่างหน่วยเงิน

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ  
         1.ให้เด็กฟังเสียงเหรียญที่อยู่ในกล่อง
         2.เด็กอธิบายลักษณะของสิ่งที่อยู่ในกล่อง
         3.เด็กร่วมกันแยกประเภทของเงิน
         4.เด็กเลือกเงินคนละ 1 ชนิด 
         5.ครูให้คำถามปลายเปิด
 ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน
         6.ครูทำกิจกรรมเปิดขายสินค้าราคาถูก 
         7.เด็กๆจับกลุ่มเลือกสินค้ามาขาย
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัิกิจกรรม
          8.นำของมาวางขาย และออกแบบร้านร่วมกัน
ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
           9.ทำบัญชี ราคาเท่าไหร่

             วิธีการเรียนรู้ของเด็กสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง ความรู้ใหม่ที่ไม่ได้แสดงออกมาคือการรับรู้ ส่วนที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมคือการเรียนรู้

การนับแลการดำเนินการ (มีอยู่ 1 เพิ่มขึ้นอีก 1 เป็น 2 ) คำพูดที่แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างกิจกรรม การประกอบอาหาร
       1.เรื่องลำดับขั้น
       2.การเรียงลำดับ
      ไข่➦ การแยกประเภท จัดหมวดหมู่ จำนวนย่อย จำนวนรวม
       ปฏิทิน ➦ลำดับการเพิ่มขึ้น วันสำคัญ ชื่อ วันนี้  วันพรุ่งนี้  เมื่อวาน วันเกิด  หน้าที่ประจำวัน

บรรยากาศในห้องเรียน : เพื่อนนำเสนอได้ดี อาจจะมีข้อผิดพลาดบ้างแต่ก็นำเสนอได้ดี
ประเมินการสอน : อธิบายและแนะนะหลังการสอนได้ดี
















ครั้งที่ 12

วันพุธ ที่ 28 มีนาคม 2561




              ต่อไปเป็นบทความของ นางสาวสุพรรณิการ์  สุขเจริญ เรื่อง สอนลูกเรื่องจำนวนการนับตัวเลข 
วิธีการ
1.จัดบรรยากาศของบ้านให้มีตัวเลขให้ลูกเห็นผ่านตา เช่น นาฬิกา ปฏิทิน
2.เล่นนับอวัยวะในร่างกาย เช่น คนมี 1 ปาก 2 หู  2 ขา 2 แขน เป็นต้น
3.เล่านิทานที่มีเรื่องจำนวน ตัวเลข และการนับให้ลูกฟัง เช่น ลูกหมู 3 ตัว  มด 10 ตัว เป็นต้น


              การนำเสนอตัวอย่างการสอนของนางสาวมารีน่า  ดาโร๊ส เรื่อง การสอนเรื่องจำนวนและตัวเลข ครูใช้กระดาษ A4 เขียนตัวเลขให้เด็กตอบ และเขียนเป็นตัวหนังสือให้เด็กสามาระสดได้ เช่น  3  สาม ให้เด็กตอบทีละคน ถ้าเด็กตอบได้ครูก็ชมและให้กำลังใจเด็ก
    ➡️การสอนแบบนี้ยังเป็นเทคนิดและการสอนแบบรายวิชา ยังไม่บูรณาการกับชีวิตวันของเด็กและไม่มีหน่วยกิจกรรม


            การนำเสนอบทความของ นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์  เรื่องสอนคณิตจากชีวิตรอบตัว การสอนคณิตศาสตร์เบื้องต้นให้ลูกสามารถได้จากสิ่งรอบตัว
-สอนเรื่องตัวเลข ได้จาก นาฬิกา ปฏิทิน  เบอร์โทร อายุ เลขทะเบียน การนับ
-สอนเรื่องขนาด/ปริมาณ/น้ำหนัก  ได้จาก น้ำหนัก-ส่วนสูง การทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ ปริมาณใส่ปุ๋ยปริมาณน้ำ
-สอนเรื่องตำแหน่ง ได้จาก การปฏิบัติตามคำสั่ง บน-ล่าง ซ้าย-ขวา
-สอนเรื่องกลางวัน-กลางคืน ได้จาก กิจวัตรประจำวัน กลางคืนทำอะไร กลางวันทำอะไร
-สอนเรื่องวัน เดือน ปี ได้จาก เทศกาล งานต่างๆ
-สอนเรื่องการใช้เงิน ได้จาก การนับจำนวนเงินจับจ่ายซื้อของ การไปตลาด และเวลาเล่นของเล่น
    ➡️ เพราะคณิตศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัว สำคัญอยู่ที่เราจะนำมาใช้เมื่อไหร่

    สุดท้ายอาจารย์ให้จับคู่คิดสื่อที่สอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยทำจากแผงไข่




บรรยากาศในห้องเรียน : การเรียนการสอนเป้นไปด้วยดี เพื่อนๆมีความตั้งใจในการคิดสื่อการเรียนการสอน
ประเมินการสอน : อาจารย์แนะนำการทำสื่อที่ถูกต้อง และช่วยคิดออกแบบ













ครั้งที่ 11

วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2561

              วันนี้เพื่อนนำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนรู้เรื่องจำนวนมากกว่าน้อยกว่าเนื้อหา คือ ให้เด็กได้นับจำนวนสิ่งของจริงๆ เช่น หลอด ไม้ไอศครีม เมื่อเด็กรู้จำนวนแล้วให้เด็กนำเลขไปวาง เพื่อให้เด็กรู้ค่าและสามารถเชื่อมโยงได้ระหว่างจำนวนกับตัวเลข หลังจากนั้นเด็กก็จะรู้ค่าจำนวนว่าสองจำนวนไหนมีค่ามากกว่ากัน

สรุป เนื่องจากเด็กนับเลขด้วยปากเปล่าได้แต่ไม่รู้ค่าจำนวนว่ามีค่าเท่าได การให้เด็กได้นับจากของจริงจึงทำให้เด็กเข้าใจง่ายกว่า เห็นอย่างไรเด็กก็บอกอย่างนั้น

จำนวนสิ่งของ ➨  เลขฮินดูอารบิก  ➨ เด็กรูัค่ามากกว่าน้อยกว่า

           การสอนควรทำให้เด็กเชื่อมโยงชีวิตประจำวันได้ ควรมีการเลือกหน่วยการเรียน เช่น หน่วยผัก หน่วยผลไม้ การสอนเด็กปฐมวัยควรสอนแบบบูรณาการเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ทุกด้านอย่างครอบคุลมและเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ มากกว่าการสอนแบบรายวิชา ส่วนการแบบนับจำนวนดังที่กล่าวมาในตัวอย่างการสอนเป็นเพียงเทคนิควิธีการที่นำไปเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ สู่คณิตศาสตร์เท่านั้น

คนต่อไปคือ บทความเรื่อง ฉลาดเรียน ฉลาดเล่น สอนลูกจากของในครัว  สิ่งที่ลูกจะได้รับจากการทำอาหารร่วมกับแม่ในครัว คือ 
1.ด้านร่างกาย  เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
2.ด้านอารมณ์- จิตใจ  เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบผลงานของตนเอง
3.ด้านสังคม  เด็กได้พูดคุยมีปฏิสัมพันธ์กับแม่
4.ด้านสติปัญญา  ได้คิดคำนวนเรื่องเวลา ปริมาณ  การหั่นรูปทรงเรขาคณิตศาสตร์ต่างๆ

   ➨ ควรให้เด็กมีส่วนร่วมเลือกอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อที่เด็กจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีความกล้าและความเชื่อมั่น นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ 
 บทบาทของครูคือ อยากให้เด็กเรียนรู้อะไร อยู่ที่การออกแบบของครู หน้าที่ของครูคือการแนะนำและอำนวยความสะดวก ความพร้อม วางแผนต่างๆ


คนที่ 3 คือ บทความเรื่อง เลขคณิตคิดสนุกจากกิจกรรมในบ้าน
กิจกรรมที่ 1 ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลี่ร่วมกัน  ได้ใช้ทักษะการวัด ตวง ส่วนผสม 
กิจกรรมที่ 2 การประดิษฐ์กล่องขวัญ  ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้แบบลงมือทำ

ทักษะที่ได้รับ  :  ได้รับประโยชน์จากบทความใช้ในการออกแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย


บรรยากาศในห้องเรียน :เพื่อนๆฟังการนำเสนอของเพื่อนแต่ละคนโดยไม่คุยเสียงดังรบกวน
ประเมินการสอน : อธิบายเพิ่มเติมจากการที่เพื่อนนำเสนอได้ดี















ครั้งที่ 10

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2561

            วันนี้เป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาเมื่อคาบที่ผ่านมา คือเรื่องมาตรฐานคณิตศาสตร์ทั้ง 6 สาระ อาจารย์ได้อธิบายทวนอีกครั้งเพื่อความเข้าใจและหลังจากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน

              นางสาวชาณิศา   หุ้ยทั่น  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่  ปริญญานิพนธ์ ของ กมลรัฒน์   กมลสุทธิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาการศึกษาปฐมวัย ปี 2555

ความมุ่งหมาย : เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลักการทดลองสูงกว่าการทดลอง

สรุปผลการวิจัย : ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิคศาสตร์ ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและรายด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ
                                                          

             นางสาวรัติยากร   ศาลาฤทธิ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์การสังเกต การจำแนก และการเปรียบเทียบ   โดย กาญจนา ทับผดุง และ สุภาวิณี  สัตยาภาณ์  
หน่วยแผนการสอนจะเป็นดังนี้ 
1. บ้านน่าอยู่ จำนวน 5 ชั่วโมง
2. สัตว์น่ารู้    จำนวน 5 ชั่วโมง
3. อาชีพที่ควรรู้จัก  จำนวน 5 ชั่วโมง
4. ฤดูกาล     จำนวน 5 ชั่วโมง


             นางสาวสุภาภรณ์   วัดจัง  นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป  

             นางสาววิจิตรา   ปาคำ  นำเสนอตัวอย่างการสอนเรื่อง กิจกรรมปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวเด็ก โดยครูอัมพรรณี สาลีวรรณ์  เป็นการสอนกิจกรรมหลักทั้ง 6 อย่าง เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติรอบตัวเด็ก สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับ การเปรียบเทียบ การจำแนก การเรียงลำดับ                                                      

              นางสาวปรางทอง   สุริวงษ์  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร   โดย ศุภนันท์   พลายแดง  วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปี 2553
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ : เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี โรงเรียนมิตรภาพที่ 34 จำนวน 30 คน
สรุป : การจัดกิจกรรมการประกอบอาหารสามารถส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุก ๆ ด้านให้แก่เด็กปฐมวัย ซึ่งสอดคล้องกับ 


การนำมาประยุกต์ใช้
               - เป็นแนวทางที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ที่มีความเหมาะให้กับเด็กต่อไปนอนาคต

               - ได้รู้จักการทำวิจัย ตัวอย่างการสอน และบทความที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนการสอน และการประกอบอาชีพครูปฐมวัยในอนาคต


บรรยากาศในห้องเรียน : เพื่อนๆตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อนแต่ละคนได้ดี
ประเมินการสอน : อาจารย์ให้คำแนะนำหลังจากเพื่อนๆนำเสนอให้เข้าใจมากขึ้น










                                                  บทความคณิตศาสตร์ปฐมวัย คลิ๊กที่นี่ สรุปเนื้อหาจากบทความ           จากเนื้อหาขอ...