วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

                                                          






                                                            ครั้งที่ 4


วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561
                   
              ก่อนที่จะเรียนอาจารย์ตรวจบล็อคของแต่ละคนเพื่อแจ้งถึงข้อบกพร่องเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข จากนั้นอาจารย์ให้เลขที่ 1, 2, 3 ออกมานำเสนอ บทความ วิจัยและตัวอย่างการสอน ตามประเภทที่ได้ ให้เพื่อนฟัง  ระหว่างที่เพื่อนนำเสนออาจารย์ก็จะบอกเทคนิคในการนำเสนอว่าควรพูดอย่างไรให้ดูสุภาพ เช่น การนั่งและการยืน การจัดระเบียบของตัวเอง 


หลังจากที่ได้ฟังการนำเสนอของ  นางสาว อภิชญา  โมคมูล   เลขที่ 3  เรื่องการปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนในประเทศสิงคโปร์  
           ในประเทศสิงคโปร์  โรงเรียนแห่งหนึ่งจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้จากของสิ่ง รูปภาพไปสู่สัญลักษณ์ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของบรูเนอร์คือการให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเรียนรู้จากของจริงเกิดการค้นพบด้วยตนเอง และสอดคล้องกับทฤษฤีของเพียเจย์เรื่องการลงมือกระทำจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม หลังจากที่เพื่อนนำเสนอเสร็จอาจารย์ได้อธิบายเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติ่ม เช่น สัญลักษณ์กระดาษมากกว่าคน
กระดาษ  > คน
23  > 20   อยู่  3

23 -  20   =    3


             ต่อมาอาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ผับกระดาษเป็น 2 ส่วน พับอย่างไรก็ได้ตามความคิดของแต่ละคน การพับกระดาษให้มี 2 ส่วนนั้นทำได้หลายวิธี เช่นเดียวกับการหาคำตอบมักจะมีหลายวิธีซึ่ง"คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา หาคำตอบ เรื่องที่อยากรู้ และการหาคำตอบมีหลายวิธี"

            พัฒนาการ หมายถึง พฤติกรรมของเด็กที่แสดงในแต่ละระดับอายุลักษณะพัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงวัยที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

           ในวัยเด็กแรกเกิด - 2 ปี เกิดการรวบรวมมีปฎิสัมพันธ์กับธรรมชาติ ไปยังสมอง เด็กวัยนี้มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มากที่สุด ซึมซับจดจำไปยังสมอง เกิดการปรับโครงสร้างความรู้ใหม่ เช่น สีแดงผสมสีน้ำเงินเท่ากับสีม่วง 

บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศโดยรวมมีความตื่นเต้น ทุกคนมีความกระตือรือในการเรียนอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้บางช่วงในการตอบคำถามจะตึงเคลียดบ้าง แต่โดยรวมแล้วสนุกไม่น่าเบื่อ


ประเมินวิธีการสอน : อาจารย์ให้คำแนะนำ ข้อคิดต่างๆมากมาย อาจารย์พยายามอธิบาย ยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นภาพและใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

                                                  บทความคณิตศาสตร์ปฐมวัย คลิ๊กที่นี่ สรุปเนื้อหาจากบทความ           จากเนื้อหาขอ...