วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


                               
                    









                                                     ครั้งที่ 5

วันศุกร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561   


                    วันนี้เพื่อนเลขที่ 4 5 6 ออกมานำเสนองานวิจัย ตัวอย่างการสอนและบทความกันต่อจากอาทิตย์ที่แล้วพร้อมฟังคำอธิบายและข้อเสนอแนะจากอาจารย์
บทความที่เพื่อนนำเสนอคือ 
        การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย ผลการวิจัย เด็กปฐมวัยมีความชอบ และมีความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน มีความกระตือรือร้น และสนใจที่จะเล่น ส่วนการประเมินพัฒนาก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 17.66 คิดเป็นร้อยละ 58.89 และคะแนนเฉลี่ยของการประเมินพัฒนาการหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 25.83 คิดเป็นร้อยละ 86.11 แสดงให้เห็นว่าการจัดประสบการณ์โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทยนั้นช่วยให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ได้ดีขึ้น


     


รูปบรรยากาศในห้องเรียน

                การสำรวจความชอบอาหารอีสานระหว่างส้มตำกับลาบไก่ คือการจับคู่แบบ 1 : 1 เป็นการเปรียบเทียบเรื่องจำนวนมากกว่าน้อยกว่า ผลสรุปคือ คนที่ชอบส้มตำมีจำนวนมากกว่าลาบไก่

➨ ต้องสร้าง concept ให้เด็กเรียนแบบเข้าใจไม่ท่องจำเพราะการท่องจำน่าเบื่อและทำให้เด็กกลัว
คณิตศาสตร์


ทักษะที่ได้รับ
              คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน การสอนคณิตศาสตร์เด็กต้องสร้าง concept ให้เด็กเข้าใจเรียนแบบสนุกสนานจัดกิจกรรมที่มีความเหมาะสม สอนทีละเรื่อง ไม่ควรสอนแบบการท่องจำ 


บรรกาศในห้องเรียน : สนุกสนานไม่เครียด เพื่อนๆตั้งใจฟังไม่คุยเสรียงดัง

 ประเมินวิธีการสอน :  อาจารย์พยายามสอนกระตุ้นให้เกิดนักศึกษาเกิดกระบวนการคิดและสอนการจัดกิจกรรมการจัด ประสบการณ์คณิตศาสตร์ที่หลากหลายเพื่อเป็นแนวทางในการจัดประการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้เด็กต่อไป


วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

                                                          






                                                            ครั้งที่ 4


วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561
                   
              ก่อนที่จะเรียนอาจารย์ตรวจบล็อคของแต่ละคนเพื่อแจ้งถึงข้อบกพร่องเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข จากนั้นอาจารย์ให้เลขที่ 1, 2, 3 ออกมานำเสนอ บทความ วิจัยและตัวอย่างการสอน ตามประเภทที่ได้ ให้เพื่อนฟัง  ระหว่างที่เพื่อนนำเสนออาจารย์ก็จะบอกเทคนิคในการนำเสนอว่าควรพูดอย่างไรให้ดูสุภาพ เช่น การนั่งและการยืน การจัดระเบียบของตัวเอง 


หลังจากที่ได้ฟังการนำเสนอของ  นางสาว อภิชญา  โมคมูล   เลขที่ 3  เรื่องการปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนในประเทศสิงคโปร์  
           ในประเทศสิงคโปร์  โรงเรียนแห่งหนึ่งจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้จากของสิ่ง รูปภาพไปสู่สัญลักษณ์ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของบรูเนอร์คือการให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเรียนรู้จากของจริงเกิดการค้นพบด้วยตนเอง และสอดคล้องกับทฤษฤีของเพียเจย์เรื่องการลงมือกระทำจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม หลังจากที่เพื่อนนำเสนอเสร็จอาจารย์ได้อธิบายเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติ่ม เช่น สัญลักษณ์กระดาษมากกว่าคน
กระดาษ  > คน
23  > 20   อยู่  3

23 -  20   =    3


             ต่อมาอาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ผับกระดาษเป็น 2 ส่วน พับอย่างไรก็ได้ตามความคิดของแต่ละคน การพับกระดาษให้มี 2 ส่วนนั้นทำได้หลายวิธี เช่นเดียวกับการหาคำตอบมักจะมีหลายวิธีซึ่ง"คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา หาคำตอบ เรื่องที่อยากรู้ และการหาคำตอบมีหลายวิธี"

            พัฒนาการ หมายถึง พฤติกรรมของเด็กที่แสดงในแต่ละระดับอายุลักษณะพัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงวัยที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

           ในวัยเด็กแรกเกิด - 2 ปี เกิดการรวบรวมมีปฎิสัมพันธ์กับธรรมชาติ ไปยังสมอง เด็กวัยนี้มีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 มากที่สุด ซึมซับจดจำไปยังสมอง เกิดการปรับโครงสร้างความรู้ใหม่ เช่น สีแดงผสมสีน้ำเงินเท่ากับสีม่วง 

บรรยากาศในห้องเรียน : บรรยากาศโดยรวมมีความตื่นเต้น ทุกคนมีความกระตือรือในการเรียนอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้บางช่วงในการตอบคำถามจะตึงเคลียดบ้าง แต่โดยรวมแล้วสนุกไม่น่าเบื่อ


ประเมินวิธีการสอน : อาจารย์ให้คำแนะนำ ข้อคิดต่างๆมากมาย อาจารย์พยายามอธิบาย ยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นภาพและใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย










ครั้งที่ 3

วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ.2561

                   เนื่องด้วยวันนี้อาจารย์ติดธุระจึงไม่สามารถมาสอนได้แต่ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาได้ทำคือ การเลือกสื่อคณิตศาสตร์ และให้นั่งทำงานในห้องจนกระทั่งงานเสร็จ เพื่อนๆ ต่างตั้งใจและมุ่งมั้นทำงานเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นงานเสร็จก็รวบรวมส่งกับหัวหน้าห้อง และกลับได้







                                                                        รูปบรรยากาศในห้องเรียน
   

 บรรยากาศในห้องเรียน : ทุกคนตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์มอบหม่นเป็นอย่างดี มีเสียงดังเล็กน้อยแต่ทุกคนก็ทำงานเสร็จกันทุกคน










ครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ.2561  

         วันนี้อาจารย์สอนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ โดยการเอาวิถีชีวิตประจำวันมาบูรณาการผ่านการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ออกแบบชื่อของตัวเองโดยชื่อที่ทำออกมานั้นจะต้องต่อกัน เมื่อเสร็จแล้วอาจารย์จัดเวลาให้คนที่ตื่นก่อน  07.00 น ออกไปติดที่กระดานฝั่งซ้าย คนทีตื่น07.00 น ไปติดตรงกลางและคนที่ตื่นหลัง 07.00 น ไปติดฝั่งขวา ผลสรุปคือ คนที่ตื่นหลัง 07.00 น มากที่สุด 


รูปภาพกิจกรรมในห้องเรียน

ทักษะที่เด็กจะได้รับจากกิจกรรมนี้คือ 
        1.เรื่องการเปรียบเทียบจำนวนมาก-น้อย
        2.การจับคู่
        3.การนับ
ซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู่เรื่องการบวก ลบ สอนเด็กจะต้องมีการปูพื้นฐานและสอนทีละเรื่องจากน้อยไปมาก

สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม
       การวางแผนและแก้ไขปัญาหา ระหว่างที่ทำกิจกรรมอาจจะมีความวุ่นวาย จึงต้องมีการออกแบบในการร่วมกิจกรรมเสมอ เช่น การเข้าแถว การเรียกชื่อเด็ก,เลขที่,กลุ่ม การใช้เพลง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและรักษาความสมดุลเรื่องของเวลา อาจารย์ให้ทำ mind map การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
ตาม course syllabus เพื่อที่เราจะได้รู้เนื้อหาที่จะเรียนว่าการจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์ และเรื่องของเด็กปฐมวัยควรต้องมีเรื่องอะไรบ้าง


บรรยากาศในห้องเรียน : มีความสนุกสนานและไม่เครียดจนเกินไป ทุกคนให้ึวามร่วมมือและไม่ส่งเสียงดังจนเกินไป
ประเมินการสอน : อาจารย์สอนในรูปแบบการจัดกิจกรรม นักศึกษาได้ร่วมกิจกรรมลงมือปฏิบัติจริงเกิดทักษะการคิดการออกแบบ รูปแบบกิจกรรมสามารถนำไปใช้ในการสอนได้จริง ระหว่างการเรียนการสอนจะสนุกสนานได้ตอบคำถาม จึงทำให้การไม่เคร่งเคลียดและน่าเบื่อ












ครั้งที่ 1

วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2561  .

            วันแรกในการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์พูดคุยถึงกฎระเบียบในการเรียนและเกณฑ์การวัดประเมินผลในตลอด เทอม และการเข้าเรียนต้องเข้าเรียนตรงเวลาและส่งงานตรงเวลาตามที่อาจารย์กำหนดหรือตกลงกันไว้



ภาพกิจกรรมในห้องเรียน

           หลังจากนั้นอาจารย์แจกกระดาษคนละ แผ่น แล้วให้นักศึกษาเขียนตอบคำถาม เพื่อเป็นการวัดความรู้พื้นฐานเดิมจากที่ได้เรียนมา
             1. สิ่งที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
             2. เมื่อนึกถึงคริตสาสตร์จะนึกถึงสิ่งใด
             3. นักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องด้านคณิตศาสตร์
             4. นักทฤษฎีการเรียนรู้พร้อมยอกตัวอย่างทฤษฎี
    
           อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาสาระที่จะเรียนตลอดเทอมและสั่งให้ทำ  Blogger เพื่อบันทึกความรู้หลังการเรียนในแต่ละวัน อาจารย์ได้บอกรายละเอียดต่างๆที่ต้องใส่ลงไปในบล็อคตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาสิ่งที่ต้องมีใน  Blogger

  1. งานวิจัย บท 
  2. ตัวอย่างการสอน
  3. บทความ 
โดยให้สรุปเป็นความเข้าใจของตนเองใส่ใน Blogger พร้อมทั้งนำเสนองานสัปดาห์ละ คน
งานสุดท้ายทำสื่อให้แบ่งกลุ่มกันเองกลุ่มละ คน

บรรยากาศในห้องเรียน :  สนุกสนานเพื่อนๆทุนคนตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สั่งงาน ไม่ส่งเสียงดังขณะอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำงานและตอบคำถาม
ประเมินวิธีการสอน : อาจารย์อธิบายรายละเอียดของการเรียนเนื้อหางานต่างๆ และเกณฑ์คะแนนครบถ้วน อาจารย์สอนในรูปแบบของกิจกรรมให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติและใช้ความคิดในการคิด การเรียนจึงสนุกสนานไม่เครียดจนเกินไป



                                                  บทความคณิตศาสตร์ปฐมวัย คลิ๊กที่นี่ สรุปเนื้อหาจากบทความ           จากเนื้อหาขอ...